เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ฮิวแมนแพปพิลโลมา (Human Papillomavirus หรือเชื้อ HPV) สายพันธุ์ความเสี่ยงสูงผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง การติดเชื้อสามารถหายได้เอง หากติดเชื้อฝังแน่นเป็นเวลา 5 - 15 ปี อาจทำให้เซลล์ปากมดลูกกลายเป็นมะเร็งได้
เชื้อ HPV ติดต่อผ่านอะไรบ้าง
หลังการมีเพศสัมพันธ์ ร่างกายสามารถติดเชื้อผ่านรอยถลอกหรือบาดแผลเล็กๆ บริเวณต่อไปนี้
• เยื่อบุผิวปากมดลูก
• ปากช่องคลอด
• รอบทวารหนัก
• ปลายองคชาติ
การป้องกัน
• ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV โดยเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 - 45 ปี
• หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เปลี่ยนคู่นอนหลายคน สูบบุหรี่
• ตรวจภายในประจำปี พร้อมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ
• เมื่อพบเซลล์ผิดปกติควรรับการรักษาและติดตามอย่างเคร่งครัด
ข้อควรรู้ เกี่ยวกับวัคชีน HPV
ในประเทศไทย มี 3 ชนิด ได้แก่ 2 สายพันธุ์ , 4 สายพันธุ์ และชนิด 9 สายพันธุ์
• 2 สายพันธุ์ , 4 สายพันธุ์ ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 70
• 9 สายพันธุ์ ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 90
• 4 สายพันธุ์ , 9 สายพันธุ์ ป้องกันการเกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ
• ฉีด 3 เข็ม ยกเว้นผู้ที่อายุน้อยกว่า 15 ปี ฉีด 2 เข็ม DES 1